วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทวีปอเมริกาใต้

 ทวีปอเมริกาใต้

1. ขนาดที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ
ทวีปอเมริกาใต้เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 17.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 299 ล้านคน รูปร่างของทวีปอเมริกาใต้คล้ายคลึงกับทวีปอเมริกาเหนือ คือ มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ มีฐานกว้างอยู่ทางทิศเหนือ ส่วนยอดสามเหลี่ยมอยู่ทางทิศใต้

ตั้งอยู่ในแถบซีกโลกใต้ ระหว่างละติจูด 12 องศา 25 ลิปดาเหนือ ถึง 56 องศาใต้และลองติจูด 34 องศา 47 ลิปดาตะวันตก ถึง 81 องศา 20 ลิปดาตะวันตก อาณาเขตของทวีปอเมริกาใต้มีดังนี้

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดกับทวีปอเมริกาเหนือ โดยมีคลองปานามาเป็นเส้นกั้นเขตแดนและติดต่อกับทะเลแคริบเบียน ในมหาสมุทรแอตแลนติก จุดเหนือสุดอยู่ที่แหลมกายีนาส ในประเทศโคลอมเบีย
ทิศใต้ ติดกับทวีปแอนตาร์กติกา มีช่องแคบเดรกเป็นเส้นกั้นเขตแดน จุดใต้สุดอยู่ที่แหลมโฟร์วาร์ด ในคาบสมุทรบรันสวิก ประเทศชิลี
ทิศตะวันออก ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก จุดตะวันออกสุดอยู่ที่แหลมโคเคอรูส ในประเทศบราซิล
ทิศตะวันตก ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก จุดตะวันตกสุดอยู่ที่แหลมปารีนเยสในประเทศเปรู

2. ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาใต้สามารถแบ่งออกได้ 3 ลักษณะได้แก่

1. เขตเทือกเขาตะวันตก ได้แก่ บริเวณเทือกเขาแอนดีส ซึ่งทอดตัวยาวขนานไปกับชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งแต่ทางเหนือบริเวณทะเลแคริบเบียนไปจนถึงแหลมฮอร์นทางตอนใต้ มีความยาวประมาณ 7,200 กิโลเมตร เป็นแนวเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก ยอดเขาสูงที่สุดในบริเวณนี้ คือ ยอดเขาอะคองคากัว สูงประมาณ 6,924 เมตร บริเวณตอนกลางของเทือกเขามีที่ราบสูงที่สำคัญคือ ที่ราบสูงโบลิเวีย มีความสูงถึง 4,500 เมตร และมีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากที่ราบสูงทิเบต บนที่ราบสูงแห่งนี้มีทะเลสาบซึ่งเป็นทะเลสาบที่สูงที่สุดในโลก ได้แก่ ทะเลสาบติติกากา ในประเทศเอกวาดอร์

2. เขตที่ราบสูงตะวันออก ประกอบด้วยที่ราบสูงสำคัญ 3 แห่ง ได้แก่

ที่ราบสูงกิอานา ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีป ในเขตประเทศเวเนซูเอลา กายอานาซูรินาเม เฟรนซ์เกียนา และภาคเหนือของบราซิล มีลักษณะที่เป็นที่ราบสูงสลับกับเทือกเขาสลับซับซ้อน

ที่ราบสูงบราซิล ตั้งอยู่ตอนกลางของทวีป บริเวณตะวันออกของประเทศบราซิล ตั้งอยู่ระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน ที่ราบลุ่มแม่น้ำปารานา และที่ราบลุ่มแม่น้ำปารากวัย ทางตะวันออกมีความสูงชัน จากนั้นค่อย ๆ ลาดต่ำลงไปทางตะวันตก

ที่ราบสูงปาตาโกเนีย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีป ในเขตประเทศอาร์เจนตินาทางตะวันออกค่อนข้างราบเรียบและค่อย ๆ สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ทางตะวันตก

3. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ อยู่บริเวณตอนกลางของทวีป เป็นที่ราบดินตะกอนที่มีความอุดมสมบูรณ์และกว้าง ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสและที่ราบสูงทางตะวันออก เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำที่สำคัญของทวีปอเมริกาใต้มี 2 บริเวณได้แก่

ที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอนหรืออเมซอน เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 7 ล้านตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ส่วนมากมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอนดีสและไหลสู่มหาสมุทรแอตแลนติก แม่น้ำที่สำคัญที่สุดในบริเวณนี้คือ แม่น้ำแอมะซอน

ที่ราบลุ่มแม่น้ำโอริโนโค อยู่ทางตอนเหนือของทวีป ในเขตประเทศโคลอมเบีย และเวเนซุเอลา บริเวณนี้เป็นเขตเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญของทวีปอเมริกาใต้

แม่น้ำที่สำคัญในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่
  • แม่น้ำแอมะซอน มีความยาว 6,440 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอนดีส ไหลผ่านประเทศบราซิล ไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก
  • แม่น้ำปารานา มีความยาว 2,800 กิโลเมตรมีต้นกำเนิดจากที่สูงทางตะวันออกของทวีป ไหลผ่านประเทศบราซิล ปารากวัย อาร์เจนตินา ลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณอ่าวริโอเดอลาพลาตา
  • แม่น้ำปารากวัย มีความยาว 2,550 กิโลเมตร มีต้นกำเนิดจากที่สูงในประเทศบราซิลไหลผ่านประเทศบราซิล ปารากวัยไปรวมกับแม่น้ำปารานาในเขตประเทศอาร์เจนตินา
3. ลักษณะภูมิอากาศ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของทวีปอเมริกาใต้

1. ละติจูด พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปครอบคลุมเขตอากาศร้อน และประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทวีปเป็นอากาศแบบอบอุ่น ภูมิภาคทางเหนือของทวีปจะมีฤดูกาลที่ตรงข้ามกับภูมิภาคทางใต้
2. ลมประจำ ได้แก่
  • ลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือ พัดผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกจึงนำความชุ่มชื้นเข้าสู่ทวีปบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ พัดผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกจึงนำความชุมชื้นเข้าสู่ทวีปบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้
  • ลมตะวันตกเฉียงเหนือ พัดผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกจึงนำความชุมชื้นเข้าสู่ทวีป
บริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีป ตั้งแต่ประมาณละติจูด 40 องศาใต้ลงไป

3. ทิศทางของเทือกเขา ทวีปอเมริกาใต้มีเทือกเขาสูงอยู่ทางตะวันตกของทวีป ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่กั้นขวางอิทธิพลจากทะเลและมหาสมุทร ทำให้บริเวณที่ใกล้เทือกเขาค่อนข้างแห้งแล้ง แต่ในทางตรงกันข้าม ชายฝั่งด้านตะวันออกจะได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่

4. กระแสน้ำ มี 3 สายที่สำคัญ คือ
  • กระแสน้ำอุ่นบราซิล ไหลเลียบชาวยฝั่งของประเทศบราซิล
  • กระแสน้ำเย็นฟอล์กแลนด์ ไหลเลียบชายฝั่งประเทศอาร์เจนตินา
     
  • กระแสน้ำเย็นเปรู (ฮัมโบลด์) ไหลเลียบชายฝั่งประเทศเปรูและชิลี
เขตภูมิอากาศแบ่งออกได้เป็น 8 เขต ดังนี้
  1. ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน เป็นบริเวณที่มีอากาศเย็น ป่าดิบชื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลกส่วนใหญ่มีพื้นที่อยู่ประเทศบราซิล มีอุณหภูมิสูงเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปีประมาณ 2,000 มิลลิเมตรต่อปี
     
  2. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน ได้แก่ บริเวณตอนเหนือและใต้ของลุ่มแม่น้ำแอมะซอน มีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูร้อนมีฝนตกแต่ไม่ชุกเหมือนในเขตป่าดิบชื้น อุณหภูมิสูงเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส มีลักษณะอากาศคล้ายกับภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
     
  3. ภูมิอากาศแบบทะเลทราย ได้แก่ ภาคใต้ของเปรูและภาคเหนือของชิลี เป็นบริเวณที่ร้อนและแห้งแล้งมาก มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยต่ำกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี และบางครั้งฝนไม่ตกยาวนานติดต่อกันหลายเดือน ทะเลทรายที่สำคัญในบริเวณนี้ได้แก่ ทะเลทรายอะตากามาในประเทศชิลี ในบริเวณนี้มีฝนตกน้อยกว่า 50 มิลลิเมตรต่อปี บางครั้งฝนไม่ตกติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี จัดเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
     
  4. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ได้แก่ ทางตะวันออกของประเทศอาร์เจนตินาจนถึงที่ราบสูงปาตาโกเนีย อุณหภูมิไม่สูงนักเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อนมีอากาศร้อน ปริมาณฝนน้อยประมาณ 500 มิลลิเมตรต่อปี
     
  5. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนกลางของประเทศชิลี ในฤดูร้อนมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูหนาวมีฝนตก
     
  6. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น ได้แก่ บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป ตั้งแต่ตอนใต้ของบราซิล ปารากวัย อุรุกกวัย และตะวันออกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินา อากาศในบริเวณนี้ไม่แตกต่างกันมากนัก ฤดูหนาวมีอากาศอบอุ่น ฤดูร้อนมีฝนตกเฉลี่ย 750 – 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
     
  7. ภูมิอากาศแบบภาคฟื้นสมุทร ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลอากาศหนาวจัด มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูใบไม้ร่วงเฉลี่ย 5,000 มิลลิเมตรต่อปี
  8. ภูมิอากาศแบบที่สูง ได้แก่ บริเวณเทือกเขาแอนดีส เป็นบริเวณที่มีความแตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับระดับความสูงของพื้นที่ คือ บริเวณที่ราบมีอุณหภูมิสูงและฝนตกชุก เมื่อสูงขึ้นอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนจะลดลงไปเรื่อย ๆ ยิ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 15 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,000 มิลลิเมตรต่อปี ในขณะที่ประเทศอื่นที่อยู่บริเวณเส้นศูนย์สุตร แต่ตังอยู่บนที่ราบ (เช่น มาเลเซีย มีอุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซียส และมีฝนตกชุกตลอดทั้งปีสูงกว่า 2,500 มิลลิเมตรต่อปี
4. ลักษณะเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม
ลักษณะเศรษฐกิจ
การทำเกษตรกรรม
  • จากลักษณะอากาศของทวีป เหมาะกับการปลูกพืชเมืองร้อน เช่น กาแฟ กล้วย โกโก้ อ้อย ยาสูบ โดยเฉพาะกาแฟมีผู้ผลิตรายใหญ่ คือ บราซิลและโคลัมเบีย
  • บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปารานา – ปารากวัย – อุรุกวัย มีความเหมาะสมในการปลูกข้าวสาลี เนื่องจากอยู่ในเขตอบอุ่นและเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะในเขตประเทศอาร์เจนตินา
  • การเพาะปลูกในทวีปมีทั้งการเพาะปลูกเป็นไร่การค้าขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า เอสตันเซีย และมีการเพาะปลูกแบบยังชีพ
การเลี้ยงสัตว์
การเลี้ยงสัตว์ในทวีปอเมริกาใต้กระทำอย่างกว้างขวาง ดังนี้
  • ทุ่งหญ้าปามปัส เป็นเขตปศุสัตว์ขนาดใหญ่ มีการเลี้ยงโคเนื้อ โคนม แกะ
  • ทุ่งหญ้ายาโนส (Llanos) และทุ่งหญ้าแกมโปส (Campos) เป็นเขตเลี้ยงโคเนื้อ
  • ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย บริเวณที่ราบสูงปาตาโกเนีย มีการเลี้ยงแกะพันธุ์ขน
ประเทศที่ส่งเนื้อสัตว์เป็นสินค้าออกจำนวนมาก คือ ประเทศอาร์เจตินา อุรุกวัย บราซิล

การประมง
แหล่งประมงที่สำคัญของทวีป คือ บริเวณชายฝั่งประเทศเปรูและชิลี ซึ่งมีกระแสน้ำเย็นเปรู (ฮัมโบลด์) ไหลผ่าน มีปลาแอนโชวีเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีการจับปลาตามลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ โดยชาวพื้นเมืองอีกด้วย แต่เป็นการจับปลาเพื่อยังชีพ

การป่าไม้
การทำป่าไม้ในทวีปมีไม่มากนักเนื่องจากความไม่สะดวกในการคมนาคมและการขนส่ง เขตที่มีความสำคัญในการทำป่าไม้ คือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิล

การทำเหมืองแร่

ทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งผลิตพืชเมืองร้อนและสินแร่ การทำเหมืองแร่มีความสำคัญรอง จากการทำเกษตรกรรม โดยมีแหล่งแร่ที่สำคัญดังนี้

- น้ำมัน ในเวเนซุเอลา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ บราซิล
- เหล็ก ถ่านหิน ในบราซิล
- ไนเตรท ในภาคเหนือของชิลี
- บอกไซด์ ในเกียนา ซูรินาเม

อุตสาหกรรม
การอุตสาหกรรมในทวีปยังไม่ค่อยมีความเจริญมากนัก เนื่องจากขาดเงินทุน และยังต้องอาศัยความร่วมมือและการร่วมลงทุนจากต่างชาติ ประเทศที่มีความเจริญทางด้านอุตสาหกรรม คือ อาร์เจนตินา บราซิล ชิลี เวเนซุเอลา

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประชากรและเชื้อชาติทวีปอเมริกาเหนือ


ประชากรและเชื้อชาติทวีปอเมริกาเหนือ

           จำนวนประชากรในทวีปอเมริกาเหนือมีประมาณ 436 ล้าน คน จัดว่ามีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจาก ทวีปเอเชีย และทวีปยุโรป
เมื่อศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ทวีปอเมริกาเหนือมีมนุษย์อาศัยอยู่แล้ว เชื่อกันว่าประชากรดั่งเดิมของทวีปอเมริกาอพยพมาจากทวีปเอเชีย โดยเดินทางจากคาบสมุทรชุกชีของทวีปเอเชียใช้สะพานธรรมชาติ ข้ามช่องแคบแบริง เข้าสู่คาบสมุทร อลาสกาของทวีปอเมริกาเหนือแล้วไปอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือแล้วเดินทางสู่ทวีปอเมริกาใต้ตามลำดับ ต่อมาชาวยุโรปเริ่มสำรวจทางทะเล คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส Christopher Columbus เป็นผู้จุดประกาย ให้ชาวยุโรปรู้จักดินแดนแห่งนี้และรู้จักดินแดนนี้มากยิ่งขึ้นจากการเขียนรายงานของ นักเดินเรือชื่อ อมริโกเวสปุคชี Americo Vespucci ทำให้ชาวยุโรปสนใจและเข้ามาจับจองดินแดนในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ดังนี้
          ชาวสเปนครอบครองอาณานิคมในเขตอเมริกากลาง อเมริกาใต้และหมู่เกาะอินดีสตะวันตก
          ชาวอังกฤษสามารถก่อตั้งอาณานิคมบริเวณรอบ ๆ อ่าวฮัดสันและชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออกของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน
่          ชาวฝรั่งเศสจับจองดินแดนตอนกลางของอ่าวเม็กซิโกขึ้นไป ตลอดลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี ทะเลสาบทั้ง 5 และชายฝั่งตะวันออกของแคนาดาเป็นอาณานิคมของตน ภายหลังดินแดนดังกล่าวตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
          ชาวฮอนแลนด์ จับจองบริเวณปากแม่น้ำฮัดสัน และซื้อเกาะแมนฮัดตันจากชาวพื้นเมือง ภายหลังดินแดนดังกล่าวตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
          เมื่อชาวยุโรปจับจองที่ทำมาหากินในทวีปอเมริกาแล้วขาดแรงงานก็ได้มีการซื้อ ชาวผิวดำ จากทวีปอัฟริกามาเป็นทาส ใช้เป็นแรงงานในฟาร์มของตน เมื่อผู้นำของประเทศประกาศให้มีการเลิกทาส ชาวผิวดำจึงกลายเป็นประชากรของทวีปนี้           นอกจากนี้ยังมีการอพยพจากชาวเอเชียเข้าไปทำมาหากินในทวีปอเมริกาเหนือเช่น ชาวจีน ชาวไทย ลาว เขมร ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของทวีปนี้
          จากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์พอสรุปได้ว่าประชากรของทวีปอเมริกาเหนือแบ่งเชื้อชาติได้ดังนี้
เชื้อชาติหลัก Race
         1. ผิวเหลือง Mongoloids
         2. ผิวขาว Caucasoids
         3. ผิวดำ Negroids
เชื้อชาติผสม Subrace
         1. เมสติโซ Mestizos
         2. มูแลตโต Mulattos
         3. แซมโป Zambos
         ประชากรชาวผิวเหลือง Mongoloids ในทวีปอเมริกาเหนือเป็นประชากรดั่งเดิมพวกอินเดียนแดง American Indian ที่สร้างอารยธรรมไว้แถบอเมริกากลาง บริเวณประเทศกัวเตมาลา บริติชฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ และฮอนดูรัส เรียกอารยธรรม มายา Mayas ส่วนบริเวณประเทศเม็กซิโก ก็มีชาวผิวเหลืองสร้างความเจริญไว้ เรียกอารยธรรม แอซเตก Aztecs          ประชากรผิวเหลืองพวกเอสกิโม Eakimo อพยพมาหลังชาวอินเดียนแดง American Indian ปัจจุบันอาศัยอยู่มาก บริเวณอากาศหนาว ทางตอนเหนือของทวีป
         ประชากรที่เป็นผิวเหลืองชาวเอเชียที่เข้าไปหลังจากที่ชาวยุโรปเข้าไปตั้งถิ่นฐานแล้วได้แก่ ชาวจีน ญี่ปุ่น ไทย ลาว เขมร ฟิลิปินส์ ฯลฯ ที่เข้าไปอาศัยอยู่เป็นชนกลุ่มน้อยกระจัดกระจายตามเมืองใหญ่ ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ประเทศในกลุ่มอเมริกากลางและหมู่เกาะอินดีสตะวันตก
         ประชากรชาวผิวขาว Caucasoids ในทวีปอเมริกาเหนือเป็นประชากรที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เมื่อมีการสำรวจทางทะเลและแสวงหาอาณานิคม แล้วอาศัยอยู่ในบริเวณที่ทำสงครามแย่งชิงดินแดน และจับจองระหว่างชาติยุโรปด้วยกัน ชาติใดมีชัยชนะก็จะสามารถจับจองและอพยพประชากรจากยุโรปเข้าไปตั้งถิ่นฐานได้ จากการศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ชาวยุโรปใต้เชื้อชาติ คอเคซอย์พวกเมดิเตอร์เรเนียน ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือเรียกว่า ลาตินอเมริกา เพราะถูกจับจองโดยสเปน ได้แก่ ประเทศเม็กซิโก ประเทศในกลุ่มอเมริกากลาง และหมู่เกาะอินดีสตะวันตก
เชื้อชาติ คอเคซอย์พวกนอร์ดิก ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ เรียกว่า แองโกลอเมริกา ซึ่งหมายถึง สหรัฐอเมริกาและแคนาดา
คอเคซอยด์ชาวฝรั่งเศส อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ บริเวณตะวันออกของแคนาดา ในมณฑลควิเบก
          เมสติโซ Mestizos ประชากรที่เกิดจากสายเลือดผสมระหว่างชนพื้นเมืองกับชาวยุโรป (มองโกลอยด์+คอเคซอยด์) อาทิ พวกอินแดียนแดงกับสเปน อินเดียนแดงกับฝรั่งเศส เอสกิโมกับอังกฤษ
          มูแลตโต Mulattos ประชากรที่เกิดจากสายเลือดผสมระหว่างชาวผิวดำกับชาวยุโรป (นิกรอยด์+คอเคซอยด์)
          แซมโป Zambos ประชากรที่เกิดจากสายเลือดผสมระหว่างชาวผิวเหลืองกับชาวผิวดำ (นิกรอยด์+มองโกลอยด์